16/11/58

Income:เงินได้


Income
เงินได้

จากสมการ 
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  (เงินได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน-ค่าบริจาค)xอัตราภาษี


เงินได้สำหรับที่ใช้คำนวณภาษี มี 8 ประเภท ตามนี้ครับ
1.       เงินที่ได้จากการจ้างแรงงานตามสัญญาแรงงาน เช่น เงินเดือนที่ได้รับจากนายจ้างทุกๆเดือน เป็นรายได้ที่ค่อนข้างแน่นอน
2.       เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรืองานที่ทำ เช่น ค่านายหน้าต่างๆ เมื่อทำงานได้เสร็จ (รายได้ไม่แน่นอน)
3.       เงินเกี่ยวกับสิทธิ์ต่างๆ เช่น ค่าลิขสิทธิ์
4.       ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไรต่างๆ เช่น เงินปันผลจากหุ้น
5.       เงินได้จากการให้เช่าสินทรัพย์ต่างๆ  เช่น ค่าเช่าบ้าน
6.       เงินได้จากวิชาชีพต่างๆ เช่น รายได้จากการว่าความ รายได้จากการตรวจสอบบัญชี
7.       รายได้จากการรับเหมา เช่น รับเหมาก่อสร้าง
8.       เงินได้จากการประกอบธุรกิจ หรือ เงินได้อื่นๆ เช่น เงินได้จากการขายบ้าน  เงินได้จากการขับรถรับส่ง เงินปันผลจากกองทุนรวม

นอกจากนี้ยังมีเงินได้บางประเภทที่ไม่ต้องเอามาคำนวณภาษี ดูได้จาก
http://www.rd.go.th/publish/554.0.html  (ณ วันที่ 16/11/2558) มี 120 รายการ

          มีเงินได้บางประเภทสามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้เลย โดยไม่ต้องนำรายได้มาคำนวณรวมเป็นเงินรายได้ตอนปลายปีก็ได้ เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผลจากหุ้น  เงินปันผลจากกองทุน กำไรจากการขายตราสารหนี้ ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับหน้าตราสารหนี้ รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น (ลองดูรายระเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.rd.go.th/publish/3535.0.html)


ถ้ามีเงินได้จากต่างประเทศล่ะ?
ถ้ามีเงินได้จากนอกประเทศ   ถ้าจะเสียภาษีต้องมีเงื่อนไขครบทั้ง 2 ข้อดังนี้
1.               ในแต่ละปีอยู่ในไทยเกิน 180 วัน (ไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องกัน)
2.               ต้องนำเงินเข้ามาในประเทศ ในปีที่มีรายได้นั้นๆ
เช่น  ไปตีเทนนิสที่ต่างประเทศ  โดยในปีนั้นอยู่ในไทยเกิน 180 วันแต่ไม่ได้นำเงินเข้ามาในไทยในปีเดียวกัน ก็ไม่ต้องเสียภาษีแต่ ถ้า ไปตีเทนนิสที่ต่างประเทศ  โดยในปีนั้นอยู่ในไทยเกิน 180 วัน และ นำเงินเข้ามาในไทยในปีเดียวกัน ก็ต้องเสียภาษีนะครับ

เราไม่ยื่นภาษีได้หรือไม่ ถ้ารายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี?
คำตอบ คือ  ไม่ว่าจะเสียหรือไม่เสียภาษี เราก็ต้องยื่นแบบแสดงรายการเงินได้บุคคลธรรมดาครับ  โดยจะมีบางกรณีที่เราไม่จำเป็นต้องยื่นแบบภาษี เมื่อ
1.               มีเงินได้ ประเภท 1 ไม่เกิน 50,000 บาทต่อปี (สำหรับคนโสด)    และไม่เกิน 100,000 สำหรับคู่สมรส
2.               มีเงินได้นอกจากเงินเดือน ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี (สำหรับคนโสด)    และไม่เกิน 60,000 สำหรับคู่สมรส

ถ้าลืมยื่นล่ะ?
ถ้าลืมยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้
1.               เสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท
2.               เสียดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย
โดย
·        เกินกำหนดไม่เกิน 7 วัน เสีย 100 บาท
·        เกินกำหนดมากกว่า 7 วัน เสีย 200 บาท
·        ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจพบ เสีย 1000 บาท

เช่น ต้องเสียภาษี 20,000 บาทภายใน มีนาคม ปี 2559 แต่ มาจ่าย เดือนตุลาคม 2559 แทน จะต้องเสียเงินทั้งสิ้น
20,000 (ภาษีที่ต้องจ่าย)+200(ปรับ)+  20,000x1.5%x7 (ดอกเบี้ย 1.5ทั้งหมด 7 เดือน) = 22,300 บาท

แต่ถ้าปีนั้นไม่ต้องเสียภาษี ก็โดนแค่ 200 บาทครับ(ข้อหายื่นช้า)


กรณีคู่สมรส
1.               ฝ่ายชาย หรือ หญิง คนใดคนหนึ่งมีรายได้แค่คนเดียว  ก็ให้คนที่มีรายได้ยื่นตามปกติ
2.               ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายมีรายได้ สามารถทำได้ 3 วิธี
-          ต่างคนต่างยื่น   แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็จับรายได้รวมมาหารเท่า แล้วค่อยยื่น
-          แยกยื่นเฉพาะเงินได้ประเภทที่ 1  ส่วนประเภทที่ 2-8 ยื่นรวมกัน
-          รายได้รวมกันทั้งหมดแล้วค่อยยื่น (ถ้าคิดรวมกันข้อเสียคือฐานรายได้รวมกัน จะทำให้เสียภาษีสูงกว่าปกตินะครับ)

คราวหน้ามาดูเรื่องค่าใช้จ่ายกันบ้างครับ

ขอบคุณภาพจาก: http://thompsonburton.com




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น