24/11/58

Allowance Part 1/2: ค่าลดหย่อน ตอนที่ 1/2

Allowance Part 1/2

ค่าลดหย่อน ตอนที่ 1/2
จากสมการ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา =  (เงินได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน-ค่าบริจาค) x อัตราภาษี
วันนี้เรามาคุยค่าลดหย่อนกันบ้าง
ค่าลดหย่อนมีอะไรบ้างเรามาดูกัน
เว็บไซต์ของสรรพกรมีบอกไว้ชัดแจ้ง  แต่ผมจะมาขยายความอีกรอบนะครับ

1.ค่าลดหย่อน 30,000 อันนี้ ลดได้ทุกคนครับ  (ถ้าสามีหรือภรรยาไม่มีรายได้ ก็หักเพิ่มได้อีก 30,000 ครับ แต่ต้องกรณีจดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้นนะครับ) 

2.บุตรหรือบุตรบุญธรรม หักได้คนละ 15
,000 หักได้สูงสุด 3คน  โดยมีเงื่อนไขคือ
- บุตรต้องอายุไม่เกิน 20 ปี 
- หากการศึกษาอยู่ระดับ ปวส. ขึ้นไปต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
-ถ้าศึกษาภายในประเทศลดหย่อนได้อีกคนละ 2,000 บาท(ชั้นอนุบาลถึงปริญญาเอก แต่ไม่รวมเตรียมอนุบาล)

3.ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เราจ่ายซื้อบ้านหรือคอนโดเพื่ออยู่อาศัย หักตามจริงที่จ่ายไปสูงสุดไม่เกิน 100
,000 โดยทรัพย์สินที่กู้ต้องใช้เป็นหลักประกันในการกู้(จำนอง) และหากมีมากกว่า 1 แห่ง สามารถลดหย่อนทุกแห่ง แต่รวมสูงสุดต้องไม่เกิน 100,000 บาท

4.ประกันชีวิต   ปกติประกันชีวิต จะมี2 แบบ
4.1 ประกันชีวิตแบบทั่วไปลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไข คือ ต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
4.2ประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนได้ 15
% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไข คือ
     -ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาเอาประกันภัย 10 ปีขึ้นไป
     -เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และ 
RMF ต้องไม่เกิน500,000 บาท

5.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(Provident Fund)  คือกองทุนที่ก่อตั้งโดยนายจ้างกับลูกจ้างโดยหวังเป็นเงินเก็บไว้เมื่อลูกจ้างต้องออกจากงานหรือเกษียณอายุ โดย   กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ = เงินสะสม(ลูกจ้างจ่าย)+เงินสมทบ(นายจ้างจ่าย) สามารถลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท

6.กองทุนประกันสังคม
ปกติประกันสังคมหักจากรายได้ 5 % ของรายได้ต่อเดือนอยู่แล้วแต่รายได้สูงสุดที่มาคำนวณจะไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน นั่นคือสูงสุดลดหย่อนได้สูงสุด 9,000 บาทต่อปี  (เดือนละ750 บาท)
เว็บไซต์ของประกันสังคม:http://www.sso.go.th/

ยัง ยังไม่หมดครับ  คราวหน้าเรามาว่ากันต่อครับ


ขอบคุณภาพจาก : https://somchartlee.files.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น