27/11/58

Allowance Part 2/2: ค่าลดหย่อน ตอนที่ 2/2

Allowance Part 2/2
ค่าลดหย่อน ตอนที่ 2/2
เรามาว่ากันต่อครับ(อ่านตอนที่ 1 ได้ ที่นี่)

7.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) (ดูรายละเอียด RMF ได้จากที่นี่ครับ)

         ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15 % ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และRMF ต้องไม่เกิน500,000 บาท  แต่เดี๋ยวก่อนนอกจากนี้ กำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีนะครับ  แต่ว่ามีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามดังนี้
-ต้องซื้อ RMF ไม่น้อยกว่า 3 % ของเงินได้ หรือ ไม่น้อยกว่า 5,000 บาทแล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า
-ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี แต่กฎหมายให้ข้อยกเว้นว่าสามารถซื้อปีเว้นปีได้
-ต้องถือหน่วยลงทุนจนอายุครบ 55 ปี และลงทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก( การนับ5 ปีให้นับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น)
-การนับปีที่ซื้อจะนับแบบวันชนวันนะครับ  จะไม่เหมือน
LTF ที่นับเป็นปีปฏิทิน เช่น วันแรกที่ซื้อคือวันที่ 14/6/58 จะได้ว่า
14/6/58-14/6/59 ถือเป็นปีที่ 1
14/6/59-14/6/60 ถือเป็นปีที่2
14/6/60-14/6/61 ถือเป็นปีที่3
14/6/61-14/6/62 ถือเป็นปีที่4
14/6/62-14/6/63 ถือเป็นปีที่5
-สามารถสับเปลี่ยนกองทุนได้ ไม่ผิดเงื่อนไขครับ
ถ้าผิดเงื่อนไขโดย
กรณีลงทุนไม่ถึง 5 ปี
-ต้องคืนเงินที่ได้รับการยกเว้นภาษี ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง(นับตามปฏิทิน)ภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข
-เสียภาษีของกำไรจาก
Capital gain ภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดจากปีที่ขายคืน
กรณีลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
-ต้องคืนเงินที่ได้รับการยกเว้นภาษี ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง(นับตามปฏิทิน)ภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข



8.กองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF     (ดูรายละเอียด LTF ได้จากที่นี่ครับ)  ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 15 % ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 และกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีนะครับ  แต่ว่ามีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามดังนี้

- ปี2558 ต้องถือไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ปฏิทินถึงจะขายได้
  ปี2559-2562 ต้องถือไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปี ปฏิทินถึงจะขายได้ 
  ปีปฏิทิน หมายถึง ดูแค่ว่าซื้อปีไหน ขายปีไหน ไม่สนใจเดือนที่ซื้อ เช่น ซื้อ 20 ธันวาคม 2558 สามารถขายได้ตอน 1 มกราคม2562 ครับ
- สับเปลี่ยนกองทุนได้ ไม่ผิดเงื่อนไข
- เวลาเราซื้อ
LTF หน่วยลงทุนที่เราซื้อเข้ามาจะใช้หลักการ FIFO (First in First out) ความหมายคือ ถ้าเราขายหน่วยลงทุน    ของ LTF  หน่วยลงทุนที่ซื้อมาก่อนจะถูกขายออกไปก่อน ซึ่งมันจะส่งผลกรณีที่เรามีบางปี เราซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่าภาษีที่ต้องการลดหย่อนในปีนั้น แล้วเราจะขายคืนบางส่วนออกไป ซึ่งถ้าเราขายคืนออก ถ้าหน่วยลงทุนแรกสุดที่เราซื้อมาของกองทุนนั้นๆ ยังไม่ครบ 5 ปีปฏิทิน  จะทำให้เราผิดเงื่อนไขของสรรพากรนะครับ ระวังประเด็นนี้ด้วย

กรณีผิดเงื่อนไข  ขายคืนหน่วยลงทุนก่อน
-คืนภาษี+จ่ายเงินเพิ่ม 1.5
% ต่อเดือน(ทันที่ที่ผิดเงื่อนไข)
-เสียภาษีจากกำไรของ
Capital gain (ภายใน มี.ค. ของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข)

9.ค่าลดหย่อนพ่อแม่
     ถ้าพ่อหรือแม่ มีอายุเกิน 60 ปี และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30
,000 บาท  สามารถลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาทครับ (รวมพ่อแม่ของคู่สมรสได้นะครับ) แต่เงื่อนไขคือถ้าลูกคนไหนเป็นคนดูแลพ่อแม่แล้ว ลูกคนอื่นๆจะใช้สิทธิซ้ำซ้อนไม่ได้นะครับ
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา
     นอกจากค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดามารดาแล้ว ยังมีค่าลดหย่อน ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา นั่นคือ เบี้ยประกันสุขภาพที่เราจ่ายให้พ่อแม่ครับ โดยนำมาลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท แต่ บิดา-มารดาต้องมีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และ กรณีบุตรหลายคนร่วมกันจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ให้เฉลี่ยหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ตามจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 15,000 บาท

10.ถ้าเราเป็นคนดูแลอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือทุพพลภาพ เราสามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาทโดยมีเงื่อนไขว่า คนพิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ หรือเป็นคนทุพพลภาพที่มีรายได้ ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

ครั้งหน้าเรามาต่อกันที่เรื่องเงินบริจาคกันครับ


ขอบคุณภาพจาก: https://k-expert.askkbank.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น