29/10/58

Saving Cooperative:สหกรณ์ออมทรัพย์


Saving Cooperative
สหกรณ์ออมทรัพย์
สหกรณ์ออมทรัพย์(Saving Cooperative) 
                          คือ สถาบันการเงินแห่งหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นบุคคลที่มีอาชีพเดียวกัน หรืออาศัยในชุมชนเดียวกัน(ส่วนใหญ่พวกข้าราชการ) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกรู้จักออมเงิน และให้สมาชิกกู้เงินเมื่อเกิดความจำเป็น โดยได้รับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542



โดยปกติสหกรณ์จะให้บริการสมาชิกอยู่ 3 ประเภท คือ
1.   การถือหุ้น (hold shares) หักเงินค่าหุ้นจากเงินเดือนทุกๆเดือน  โดยจะมีจ่ายปันผล ให้อย่างสม่ำเสมอถ้าลาออกจากสมาชิกสามารถถอนค่าหุ้นคืนได้ทั้งหมด 
2.   ฝากเงิน(deposit) มีทั้งฝากประจำและออมทรัพย์ ผลตอบแทนดีกว่าฝากกับธนาคารประมาณ 1 %
3.   กู้ยืม(loan) ในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบันการเงินอื่น
   โดยปกติ
ให้สมาชิกกู้เท่านั้น (เสียดอกเบี้ย - เฉลี่ยคืนปลายปี)    
            - กู้สามัญ (มีสมาชิกค้ำประกัน)
            - กู้ฉุกเฉิน
            - กู้พิเศษเพื่อการเคหะ (มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และ สิทธิ์ทางภาษี
          ของดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยเหมือนกับสถาบันการเงินอื่นๆ
)

***สหกรณ์บางแห่งมีสวัสดิการให้สมาชิก***



ตัวอย่างสหกรณ์ออมทรัพย์   
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมการปกครอง :  http://www.codopa.com
สหกรณ์ออมทรัพย์ของพนักงานเทศบาล : http://www.munsaving.com/home/

ตารางด้านล่าง เป็นตารางอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์กรมการปกครอง

ความเสี่ยงที่อาจมี

1. การฉ้อโกงของผู้บริหารเช่น ส.เครดิตยูเนี่ยนฯ หรือสหกรณ์การเกษตรฯ หลายที่ ที่มีข่าวบ่อยๆ
2. การมีเงินฝากล้นสหกรณ์ (หลายที่มีเงินฝากล้น) ซึ่งสหกรณ์ที่มีเงินฝากล้นจะนำเงินไปให้สหกรณ์อื่นกู้ 
ถ้าสหกรณ์ที่กู้ล้ม สหกรณ์เจ้าหนี้ก็จะล้มต่อกันไปเป็นทอดๆ แล้วก็จะเดือดร้อนถึงสมาชิก
3. ไม่มีหลักประกันความเสี่ยง ถ้าเงินสมาชิกโดนโกงใครจะเอาคืนให้ มหาวิทยาลัย? กระทรวง?
4. สหกรณ์บางแห่งสมาชิกน้อยแต่กู้เยอะ ก็เสี่ยง
5. เงินในสหกรณ์จะมากหรือน้อยขึ้นกับจำนวนสมาชิกสามัญ เช่น ส.ออมทรัพย์ครูบางแห่งมีสมาชิก 50,000 คน จะมีเงินหมุนเวียนประมาณ 10,000,000,000 (หนึ่งหมื่นล้านบาท) ทำให้ผู้บริหารตาโตต่อดอกเบี้ย และค่าบริหารอื่นๆ
6. การกู้เงินสามัญต้องมีคนค้ำประกัน ถ้าคนกู้เบี้ยวหนี้ คนค้ำรับไปเต็มๆ เสี่ยงสุดๆ (คนอื่นๆ จึงไม่ยอมค้ำให้กันง่ายๆ ถ้าไม่สนิทจริงๆ)
7. สหกรณ์บางแห่งทำประกันภัยของผู้กู้น้อยเกินไป ไม่ครอบคลุมวงเงินกู้ ถ้าคนกู้ตายไป คนค้ำรับไปเต็มๆ
8. สหกรณ์ต่างๆ มักจะตั้ง ชพค. (สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์) ขึ้น บางแห่งไปผูกกับการกู้ของสมาชิก เช่น ถ้าสมาชิกสหกรณ์เป็นสมาชิก ชพค.จะกู้ได้ 100 เท่าของเงินเดือน ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นเพราะหลักประกันจะซ้ำกับข้อ 7
9. บางแห่งกำหนดวงเงินคงเหลือหลังจากหักฯลฯ ต่ำมาก ซึ่งมักจะทำให้สมาชิกเกิดการกู้ต่อไปเรื่อยๆ จนเกษียรยังใช้หนี้ไม่หมด
10. ความไม่โปร่งใสในการปล่อยกู้แก่บางเจ้าซึ่งมักจะมีสิทธิพิเศษ
11. ธรรมภิบาลของผู้บริหาร เช่นเอาไปจ่ายหนี้เช่นค่าน้ำ ค่าไฟ ของมหาวิทยาลัยโดยไม่บอกสมาชิก การตั้งเบี้ยประชุม เบี้ยดูงาน สร้างตึก ฯลฯ ที่มากเกินจริง

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยง:
http://www.policehospital-coop.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=350932
     
         โดยส่วนตัว การฝากเงินกับสหกรณ์นั้น สำหรับผมแล้วมีความเสี่ยงเทียบเท่ากับธนาคารแต่ให้ผลตอบแทนที่มากกว่า ผมจึงมองว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจตัวนึงเลยทีเดียว


ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสหกรณ์ออมทรัพย์ได้จาก ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย : http://www.fsct.com/




ขอบคุณภาพจาก http://www.shsavings.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น