29/10/58

Monetary Policy : Policy rate


Monetary Policy : Policy rate
นโยบายการเงิน  :  อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 


           จากที่เราพูดคุยเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยมาพอสมควรแล้ว วันนี้เราจะมาคุยกันถึงว่า ใครคือคนกำหนดอัตราดอกเบี้ย ว่าตอนนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายควรจะเป็นเท่าไหร่? แล้วกำหนดจากอะไร ?ก่อนอื่นเลยผมขอพูดคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง และเศรษฐศาสตร์พื้นฐานกันก่อน
                 
          เงินเฟ้อ :  ภาวะที่เงินจำนวนเท่าเดิมซื้อของได้น้อยลง   เช่น  วันนี้ เรามีตังค์ 100 บาท ข้าวจานละ 50 บาท ซื้อข้าวได้ 2 จาน  ถ้าเกิดภาวะเงินเฟ้อในอนาคต ข้าวอาจจะราคาจานละ 70 บาท เราจะซื้อข้าวได้แค่จานเดียว พูดง่ายๆคือเงินเราด้อยค่าลงนั่นเอง
          เงินฝืด :  ภาวะที่ตรงข้ามกับเงินเฟ้อ กล่าวคือเป็นภาวะที่ราคาสินค้าลดลง  

ซึ่งไอ้เจ้าตัวเงินเฟ้อกับเงินฝืดนี้ คือปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจครับ  ซึ่งโดยส่วนมาก
         เงินเฟ้อจะเกิดเมื่อเศรษฐกิจกำลังดีมากๆ   คือ ราคาข้าวของแพงเกินจริงไปมาก
         เงินฝืดจะเกิดในช่วงเศรษฐกิจแย่มากๆ  คือ ราคาข้าวของถูกเกินจริงเพราะช่วงนี้คนไม่กล้าใช้เงิน

ดังนั้น เราจึงต้องมีนโยบายเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจครับ  ปกติภาครัฐจะกำหนดนโยบายที่สำคัญ 2 แบบ คือ 
1) นโยบายการคลัง
           1.1) การจัดเก็บภาษี (รายได้ภาครัฐ)  
           1.2) งบประมาณแผ่นดิน (รายจ่ายภาครัฐ) 
รัฐบาลจะรักษาสมดุลระหว่างรายจ่ายภาครัฐ  และรายได้ภาครัฐตามสภาวะเศรษฐกิจ เช่น ถ้าช่วงไหนที่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงๆ รัฐบาลก็จะเพิ่มอัตราการเก็บภาษี และลดงบประมาณแผ่นดิน เพื่อชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ

2) นโยบายการเงิน
              2.1) การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ  เพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนเกิดไปและให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้น
              2.2) การบริหารอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยธนาคารกลางของประเทศไทย คือ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เพื่อทำหน้าที่พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและกำหนดระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เหมาะสมโดย
    
                   นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (ลดดอกเบี้ยให้ต่ำ) ปกติจะใช้ตอนที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเงินเฟ้อลดต่ำลง เพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมเงินของภาคเอกชน จนกระตุ้นให้เศรษฐกิจกลับมาเติบโตได้                                    
                   นโยบายการเงินแบบตึงตัว (เพิ่มดอกเบี้ยให้สูง) ในภาวะที่เศรษฐกิจเติบโต ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นจนทำให้ เงินเฟ้อสูงขึ้น กนง.มักจะใช้เพื่อให้เศรษฐกิจชะลอตัว  เพื่อดึงเงินเฟ้อให้ลดลง(ถ้าเงินเฟ้อสูงไป จะทำให้กำลังซื้อประชาชนลงลด)

ซึ่งกราฟก็จะหน้าตาประมาณนี้ครับ

ขอบคุณภาพจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

               อัตราดอกเบี้ยมีส่วนสำคัญมากในการวิเคราะห์เศรษฐกิจเพื่อตัดสินใจในการเข้าลงทุนหุ้นครับ  ดังนั้นการศึกษาวงจรของอัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ และเศรษฐกิจ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก 

อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทย สามารถเข้าไปดูได้จากเว็บไซต์นี้ครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น