Lending rate part 2/2 : MRR MLR MOR !?
ดอกเบี้ยเงินกู้ ส่วนที่ 2/2 : MRR MLR MOR !?
จากในส่วนที่ 1 ที่เราได้คุยกันถึง อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวแล้ว
วันนี้จะมาเจาะลึกถึงอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวกันโดยอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวที่หลายๆคนคุ้นหูกัน
คือ MRR MLR MOR เรามาดูนิยามกันก่อนนะครับ
·
MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บ
จากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพยค้ำประกัน โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่ มีกำหนดเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ
จากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพยค้ำประกัน โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่ มีกำหนดเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ
·
MOR (Minimum Overdraft Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยประเภทที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี(Overdraft) โดยหลักการจะใช้กับกรณีสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน เช่น วงเงินเบิกเกินบัญชี (Overdraft หรือ O/D) ที่ทำผ่านบัญชีกระแสรายวัน และใช้เช็คในการเบิกถอน(ที่เราคุ้นเคยกัน) ซึ่งการมีวงเงิน O/D ทำให้เราสามารถเบิกเงินได้
มากกว่าจำนวนที่ฝากไว้ในบัญชกีระแสรายวัน โดยส่วนเกินจากเงินฝากที่ถูกเบิกออกมาจะถูกคิดดอกเบี้ย
·
MRR (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล
สินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น
·
CPR (Consumer Product
Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล
ที่แต่ละธนาคารได้กำหนดออกมา
โดยอัตราดอกเบี้ยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นทางธนาคารจะติดประกาศไว้ที่หน้าเว็บไซต์ของแต่ละธนาคารอย่างชัดเจนครับ
เช่น
ขอบคุณภาพจากธนาคาร TMB
หรือสามารถติดตามได้จากเว็บไซต์
ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยได้ครับ
ซึ่งในทางปฎิบัติ
·
อัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ของแต่ละธนาคารไม่เท่ากัน
ซึ่งขึ้นอยู่กับต้นทุนของแต่ละธนาคาร
·
ปกติเราจะเห็นสัญลักษณ์ MLR+X% หรือ MLR-X% สาเหตุเพราะเครดิตลูกค้าของธนาคารแต่ละคนมีเครดิตไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับหลายๆสาเหตุ เช่น หนี้สิน ณ เวลานั้น(บางคนผ่อนรถ ผ่อนบ้าน)
มูลค่าหลักทรัพย์ที่มาใช้ค้ำประกัน
รายได้ของลูกค้าแต่ละคนไม่เท่ากัน เป็นต้น
·
เอาเข้าจริงๆในทางปฎิบัติ
ธนาคารแทบทุกที่ ก็เสนออัตราดอกเบี้ย MLR ให้ทุกราย
ไม่จำกัดเฉพาะรายใหญ่(ในกรณีที่เป็นสินเชื่อระยะยาว และมีกำหนดเวลาแน่นอน)
·
เกณฑ์การพิจารณาเครดิตของแต่ละธนาคาร
จะไม่เหมือนกัน
ฉะนั้นเราอาจจะต้องสอบถามข้อมูลหลายๆธนาคารเพื่อให้เราได้อัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุด
·
โดยปกติ MRR มากกว่า MOR และ MOR มากกว่า MRL(MRR>MOR>MRL)
·
โดยปกติบัตรกดเงินสดที่เราคุ้นเคยกันจะใช้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค(Consumer Loan) ซึ่งแบงค์ชาติ
จะกำหนดให้สูงสุดไม่เกิน 28 % ต่อปี
·
MLR+X% หรือ MLR-X% ปกติธนาคารใหญ่จะให้อัตราดอกเบี้ย MLR,MOR,MRR
ดีกว่าธนาคารเล็ก(ในกรณีที่ยังไม่พิจารณาความเสี่ยงส่วนบุคคล(ค่า X)
ซึ่งแต่ละธนาคารก็จะมีเกณฑ์การพิจารณาที่ต่างกันออกไปอีก
ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องไปสอบถามแต่ละธนาคารเพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดสำหรับเรา)
·
สินเชื่อบ้านมักจะใช้อัตรา MLR และ MRR เป็นหลัก(แล้วแต่ธนาคารว่าจะใช้ตัวไหน)เพราะสินเชื่อบ้านเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลาที่ค่อนข้างแน่นอน
ครั้งหน้าเราจะมาคุยกันถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกันบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น